Networking เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ผ่านตัวกลาง (เช่น สายเคเบิ้ล) เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับ-ส่งข้อมูล ตลอดจนการนำทรัพยากรมาใช้ร่วมกันได้ และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ของแต่ละระบบ Network ที่ได้ถูกตั้งขึ้นมาว่า ต้องการเน้นการใช้งานระบบ Network นั้นเพื่องานใด
Hardware Layer เป็นสถาปัตยกรรมโมเดลหลักที่ใช้อ้างอิงในการสื่อสาระหว่าง Computer ข้อดีของ OSI Model คือแต่ละ Layer จะมีการทำงานที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นจึงสามารถออกแบบอุปกรณ์ของแต่ละ Layer แยกจากกันได้ และการปรับปรุงใน Layer หนึ่งจะไม่มีผลกระทบกับLayer อื่นๆ
7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ upper layers และ lower layers - Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer
- Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware
Physical Layer : ชั้น Physical เป็นการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสดุที่ใช้เป็นสื่อกลางตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector),ระดับความตางศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP)
Datalink Layer : ชั้น Datalink เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (SubLayer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link นี้
Network Layer : ในขณะที่ชั้น Data-Link ให้ความสนใจกับแอดเดรสทางกายภาพ แต่การทำงานในชั้น Network จะให้ความสนใจกับแอดเดรสทางตรรกะ การทำงานในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมต่อและการเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลระหว่างเครื่องสองเครื่องในเครือข่าย ชั้น Network ยังให้บริการเชื่อมต่อในแบบ "Connection Oriented" อย่างเช่น X.25 หรือบริการแบบ "Connectionless" เช่น Internet Protocol ซึ่งใช้งานโดยชั้นTransport ตัวอย่างของบริการหลักที่ชั้น Network มีให้คือ การเลือกส้นทางนำพาข้อมูลไปยังปลายทางที่เรียกว่า Routing ตัวอย่างของโปรโตคอลในชั้นนี้ประกอบด้วย Internet Protocol (IP) และ Internet Control Message Protocol (ICMP) Transport Layer : ในชั้นนี้มีบางโปรโตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้น Transport นี้"Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด" Session Layer : ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ, การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "แซคชั่น" (Session) นั้นหมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไปอย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็คเก็จ (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่าง สมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับ/ส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่าง เพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลงตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลข ปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียง ดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อมีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่ จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Session นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซึ่งเรียกว่า "Dialog Management" Simple MailTransport Protocol (SMTP), File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้นSession, Presentation และ Application
Presentation Layer : ชั้น Presentation ให้บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์ (Syntax) ที่จะใช้ในการรับ/ส่งข้อมูลเนื่องจากว่าไม่มีการรับรองถึงไวยากรณ์ที่จะใช้ร่วมกัน การทำงานในชั้นนี้จึงมีบริการในการแปลข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอด้วย Application Layer : ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำ E-mail Exchange (การรับ/ส่งอีเมล์), การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นIP layer จะมี layer ต่างๆ ดังนี้1.เลเยอร์ชั้น Process Layer จะเป็น Application Protocol เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ โปรโตคอลหลัก ๆ ที่ทำงานและให้บริการในชั้น Process Layer นี้ก็มีอย่างเช่น FTP , Telnet , HTTP , SMTP เป็นต้น 2. เลเยอร์ชั้น Host - To - Host Layer จะเป็นTCP หรือ UDP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นของ Session Layer และ Transport Layer ของ OSI - Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูล จากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล และตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยให้เหมาะสม กับเครือข่ายที่ใช้รับส่งข้อมูล รวมทั้งประกอบข้อมูลส่วนย่อย ๆ นี้เข้าด้วยกันเมื่อถึงปลายทาง3. เลเยอร์ชั้น Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นของ Network Layer ของ OSI - Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป และทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูล ผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับข้อมูล ในชั้นนี้จะจัดการกับกลุ่มข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า Frame ในรูปแบบของ TCP/IP ที่เรารู้จักกันนั้นเอง4. เลเยอร์ชั้น Network Interface Layer เป็นชั้นที่ควบคุม Hardware การรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งเทียบได้กับชั้น Datalink Layer กับ Physical Layer ของ OSI - Model ในชั้นนี้จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Hardware และควบคุมการรับส่งข้อมูลในระบบ Hardware ของเครือข่าย ซึ่งที่ใช้กันอยู่จะเป็นตามมาตรฐานของ IEEE เช่น IEEE 802.3จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Ethernet Lan หรือ IEEE 802.5 จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน Lan แบบ Token Ring เป็นต้น
Firewalls คือ "ระบบหรือกลุ่มของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่บังคับใช้นโยบายการควบคุมการเข้าถึงระบบระหว่างเครือข่าย 2 เครือข่ายใดๆ" เมื่อพิจารณาในส่วนการนำไปใช้งานกับเครือข่ายที่บ้าน ไฟร์วอลล์ที่จะนำไปใช้งานจะมีรูปแบบการทำงานตามลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง ต่อไปนี้ - ไฟร์วอลล์ชนิดซอฟต์แวร์ หมายความถึงซอฟต์แวร์ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งที่กำหนดโดยเฉพาะ
- ไฟร์วอลล์ชนิดเครือข่าย เป็นการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาใช้ในการป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป จนถึงหลายๆ เครื่อง
โดยไฟร์วอลล์ทั้งสองชนิดจะอนุญาตให้ผู้ใช้กำหนดนโยบายการเข้าถึงเครือข่ายภายใน เพื่อป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ตนเองใช้งาน ไฟร์วอลล์หลายอันมีความสามารถที่จะควบคุมได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายใต้การป้องกันของไฟร์วอลล์จะเปิดให้บริการ (พอร์ท) ใดบ้างให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากภายนอกติดต่อเข้ามาใช้งานผ่านทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไฟร์วอลล์หลายอันที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้ทำ การปรับแต่งค่าเริ่มต้นด้านความปลอดภัยไว้ให้กับผู้ใช้ไว้ก่อนแล้ว และบางอันอนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งค่าการใช้งานได้ตามความต้องการเฉพาะของแต่ ละระบบ
Protocols เป็นข้อกำหนดถึงรูปแบบที่จะใช้งานในการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่งไปมาในเครือข่าย หรืออีกนัยหนึ่งโพรโตคอลเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการพูดคุยกัน ดังนั้น Protocol คือ ชุดของกฎเกณฑ์ที่ถูกกำหนดมาเพื่อใช้เป็นกฎในการสื่อสาร
UDP VS. TCP TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol และ UDP ย่อมาจาก User Datagram Protocol ซึ่งทั้ง TCP และ UDP เป็นโพรโตคอลที่ทำงานโดยอาศัย IP ในขณะที่ IP เป็นตัวจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันไปมาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตTCP และ UDP ทำหน้าที่ในการอนุญาตให้แอพลิเคชันแต่ละชนิด (หรือที่นิยมเรียกว่า "บริการ") ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อกันได้ การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับระบบของหมายเลขโทรศัพท์หรือตู้จดหมาย ที่จะต้องติดต่อกับบุคคลอื่นมากกว่า1 คน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นก็มีแอพลิเคชันที่ใช้งานมากมาย (เช่น e-mail การให้บริการไฟล์ การให้บริการเว็บเพจ) ใช้งานการติดต่อที่ IP address เดียวกัน พอร์ทของเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่แบ่งแยกความแตกต่างของบริการที่ใช้ออกจากกัน เช่น แยกข้อมูล e-amil ออกจากข้อมูลเว็บเพจ โดยแต่ละพอร์ทจะแทนด้วยหมายเลขที่เกี่ยวข้องกับแอพลิเคชันที่ใช้งาน และเป็นค่าเฉพาะใช้บ่งชี้ถึงแต่ละบริการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานของ TCP และ UDP จะใช้หมายเลขพอร์ทเพื่อแบ่งแยกบริการแต่ละอัน หมายเลขพอร์ทที่มักจะพบเห็นในการใช้งานทั่วไป ได้แก่ พอร์ท 80ใช้สำหรับเว็บ (HTTP) พอร์ท 25 ใช้สำหรับ e-mail (SMTP) และพอร์ท 53 ใช้สำหรับการให้บริการชื่อโดเมน (DNS)
TCP ทีซีพี มาจากคำว่า Transmission Control Protocol ทีซีพี เป็นหนึ่งในโปรโตคอลหลักในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หน้าที่หลักของทีซีพี คือ ควบคุมการรับส่งข้อมูลระหว่าง host ถึง host ในเครือข่าย เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยตัวโปรโตคอลจะรับประกันความถูกต้องและลำดับของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นทีซีพียังช่วยจำแนกข้อมูลให้ส่งผ่านไปยังแอปพลิเคชัน ที่ทำงานอยู่บนโฮสเดียวกันให้ถูกต้องด้วย
งานหลักที่สำคัญของทีซีพีอีกงานหนึ่งคือ เป็นโปรโตคอลที่ขั้นกลางระหว่างแอปพลิเคชันและเครือข่ายไอพี ทำให้แอปพลิเคชันจากโฮสหนึ่ง สามารถส่งข้อมูลออกยังอีกโฮสหนึ่งผ่านเครือข่ายเปรียบเสมือนมีท่อส่งข้อมูล ระหว่างกัน
ทีซีพี เป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกของอินเทอร์เน็ต มีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ใช้โปรโตคอลทีซีพีเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นต้น
โมเดลการส่ง Maill จาก PC เครื่องหนึ่งไปยัง PC อีกเครื่องหนึ่ง อธิบายโดย OSI Model
เมื่อผู้ใช้งานไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตาม แต่ยังขาดความเข้าใจในการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยตนเอง ก่อนที่จะแจ้งปัญหาให้ผู้ดูแลระบบของหน่วยงานทราบ หรือแจ้งตรงต่องานระบบเครือข่ายก็ตาม โดยปัญหานี้เป็นส่วนหนึ่งให้การดำเนินการแก้ไขล่าช้า และอาจจะเกิดความเข้าใจระหว่างผู้ดูแลและผู้ใช้ เพราะความเข้าใจไม่ตรงกัน ในบทความนี้ผมได้รวมขั้นตอนการตรวจสอบปัญหาต่างๆที่จะเป็นสาเหตุให้ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ได้ โดยอ้างอิงตามหลัก TCP/IP Model ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมีความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
สำหรับ TCP/IP Model หรืออาจจะเรียก Internet Model เป็นหนึ่งใน Standard ทีย่อยลองลงมากจาก OSI Model ซึ่งเป็น Model หลักของระบบเครือข่าย แต่ Internet Model จะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานมากกว่า ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าหากเราแก้ไขปัญหาตามหลัก Internet Model จะช่วยลดขั้นตอนการแก้ไขลงได้ และยังช่วยให้เรารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นครับ คือคิดง่ายๆเลยครับว่าถ้าเน็ตใช้ไม่ได้ คงหนีไม่พ้นตาม Model นี้แน่นอน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะรู้ได้ยังไงว่าแต่ละ Layer หมายถึงส่วนใดของเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นไม่ใช่ปัญหาครับลองอ่านบทความนี้อาจจะพอช่วยได้
ก่อนอื่นขอพูดถึงนิยามของ Internet Model สั้นๆนะครับ “โครงสร้างแบบ ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP model)(Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นมาตรฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน และติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยใช้แนวคิดของการแบ่งลำดับชั้นโปรโทคอล” ซึ่งมีลำดับชั้นหรือ Layer ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 TCP/IP Model – ภาพจาก:networkingtips-tricks
อธิบาย Layer จากล่างขึ้นบน ดังนี้
1. Network Access Layer หรืออาจจะเรียก Link Layer, Physical Layer ก็ไม่ผิดครับ เป็นระดับชั้นล่างสุดไม่ได้เกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยตรง แต่เป็นลำดับชั้นในการเชื่อมต่อ เช่น พวกการ์ดแลน สายแลน ไดร์เวอร์ เป็นต้น หากเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายในลำดับชั้นนี้อาจจะเทียบได้กับ ซองจดหมาย, ตู้ไปรษณีย์, ตู้รับจดหมาย เป็นต้น
2. Internet Layer เป็นลำดับชั้นที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง อาจจะผ่านเส้นทางเชื่อมโยงพวก Switching , Router โดยมี IP Address ทำหน้าที่ในลำกับชั้นนี้ หากเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายในลำดับชั้นนี้อาจจะเทียบได้กับ ที่อยู่ เลขที่บ้าน ถนน ตำบล จังหวัด ประมาณนั้นครับ
3. Transport Layer เป็นลำดับการควบคุมการส่งข้อมูล คือจะสร้างรูปแบบการเชื่อมต่อพร้อมทั้งทำการควบคุมการส่งให้อยู่ในมาตราฐานการส่งนั้นๆ หากเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายในลำดับชั้นนี้อาจจะเทียบได้กับ วิธีการส่ง เช่น ทางไปรษณีย์ ทางบริษัทรับส่งเอกชน เป็นต้น
4. Application Layer เป็นลำดับชั้นของโปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เช่น การป้องกันความปลอดภัย การเข้ารหัสในรูปแบบต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูล การกำหนดสิทธิในการส่งข้อมูล เป็นต้น เพื่อทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ หากเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายในลำดับชั้นนี้อาจจะเทียบได้กับ วิธีการส่งเช่น ส่งแบบลงทะเบียน, ส่ง EMS, ส่งแบบธรรมดา เป็นต้น
ต่อไปเรามาดูกันว่าในแต่ะ Layer นั้นจำเป็นต้องตรวจสอบ Hardware หรือ Software ที่ตรงจุดไหนบ้าง เมื่อเราไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
รูปที่ 2 TCP/IP Model เทียบกับการแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน
จากรูปที่ 2 สามารถตรวจสอบตามขั้นตอนได้ดังนี้
1. Link Layer
เป็น Layer แรกในชั้นล่างสุดของ Internet Layer ส่วนมากจะเกี่ยวกับ Hardware ซึงมีสิ่งที่เราควรตรวจสอบดังนี้
1.1 ตรวจสอบสายแลนและสถานะไฟช่องเสียบการ์ดแลน สำหรับขั้นตอนนี้เราควรตรวจสอบก่อนทุกครั้งว่าสายเสียบปกติมั้ย แล้วตรงช่องการ์ดแลนมีสถานะไฟหรือมั้ย อาจจะดูเหมือนเป็นขั้นพื้นฐานที่ง่ายๆ แต่ก็ไม่ควรละเลย หากสายเสียบปกติทั้งสองด้าน แต่ไฟสถานะไม่ขึ้นให้ท่านตรวจสอบสภาพหัว RJ45 ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ (ข้อนี้ขึ้นอยู่กับรุ่น ยี่ห้อ การ์ดแลนด้วย บางตัวก็ไม่ขึ้นสถานะไฟ) ผมแนะนำให้เจ้าหน้าที่ไอทีในหน่วยงานช่วยตรวจสอบด้วย หากไม่มั่นใจในสภาพของอุปกรณ์
1.2 ตรวจสอบการ์ดแลนและไดร์เวอร์ หากตรวจสอบตามข้อ 1.1 แล้วมั่นใจว่าสภาพปกติดีแล้วให้ท่านตรวจสอบสถานะการ์ดแลนตามคู่มือ [คลิกที่นี่] หรือดูตามรูปที่ 3 ครับ โดยสามารถตรวจสอบได้โดยคลิกเข้าไปที่ >>> Control Panel\Network and Internet\Network Connections
รูปที่ 3 แสดงสถานะ Network Interface
แต่เมื่อคลิกเข้าไปที่ Network Connections แล้วไม่พบไอค่อนใดๆให้ท่านตรวจสอบ Driver ของการ์ดแลนว่าได้ติดตั้งแล้วหรือไม่ โดยคลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Manage แล้วเลือกส่วน Device Manager ดังที่แสดงในรูปที่ 4 คือ Driver ติดตั้งปกติ หากไม่ได้ติดตั้ง Driver จะขึ้นเครื่องหมายตกใจ [ รูปตัวอย่างที่มีปัญหา Driver ]
รูปที่ 4 ตรวจสอบ Network Driver
และหากพบว่า Driver ไม่ได้ติดตั้งให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ไอทีหน่วยงานช่วยติดตั้งให้ หรือขั้นตอนง่ายๆด้วยตนเอง เข้า Google.co.th ครับ
2. Internet Layer
Layer นี้เกี่ยวกับ IP Address เป็นอีกหนึ่งเลเยอร์ที่สำคัญของการสื่อสารในระบบเครือข่าย ซึ่งท่านควรตรวจสอบไอพีแอดเดรสของท่านดังนี้
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการกำหนดไอพีด้วย DHCP Server ซึ่งผู้ใช้งานควรตั้งค่า Network Interface ให้รับจาก DHCP และไอพีที่กำหนดให้เป็นไอพี Private ที่ขึ้นต้นด้วย 10.x.x.x เท่านั้น หากเป็นไอพีอื่นๆ เช่น 192.168.x.x , 172.16.x.x จะไม่ใช่ไอพีที่ทางสำนักคอมพิวเตอร์ได้กำหนดให้ (เว้นแต่บางหน่วยงานที่ติดตั้ง AP หรือ DHCP ที่ไม่ได้อนุญาตจากทางสำนักคอมพิวเตอร์)
2.1 การตรวจสอบไอพีเครื่อง
- คลิกไปยัง Control Panel\Network and Internet\Network Connections โดยสามารถทำได้ ดังนี้ 1. คลิก Start Menu Windows แล้ว 2. คลิกที่ Control Panel 3. คลิก Network and Sharing Center 4. แล้วคลิก Change Adapter Setting
รูปที่ 5 ตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดรส 1 [Change Adapter Setting]
- จากนั้นคลิกขวาที่ Network Interface ที่เราใช้งาน แล้วเลือก Status ดังรูป
รูปที่ 6 ตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดรส 2 [LAN Status]
- จากนั้นจะปรากฏหน้า Local Area Connection Status ให้คลิกปุ่ม Details จะแสดง IP Address, Subnet Mask, Gateway และ DNS ให้ดูตรงค่า IPv4 Address หากเป็น 10.x.x.x แสดงว่าเครื่องท่านน่าจะได้รับไอพีที่ถูกต้องแล้ว และดูตรงค่า DNS Servers จะต้องเป็น 10.8.8.8
รูปที่ 7 ตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดรส 1 [Network Connection Details]
จบขั้นตอนการตรวจสอบไอพีแอดเดรส หากเครื่องท่านได้รับไอพีเป็นค่าอื่นที่ไม่ใช่ 10.x.x.x ซึ่งอาจจะเป็น 192.168.x.x หรือ 169.254.x.x แสดงว่าเครื่องท่านรับไอพีไม่ถูกต้อง และต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติมตามข้อ 2.2 และ 2.3
2.2 การตั้งค่า Network Interface รับไปพีจาก DHCP Server
การตั้งค่า Network Interface หรือ LAN เพื่อรับไอพีจาก DHCP Server ทำได้ดังนี้ 1. คลิก Start Menu Windows แล้ว 2. คลิกที่ Control Panel 3. คลิก Network and Sharing Center 4. แล้วคลิก Change Adapter Setting เหมือนกับวิธีตรวจสอบไอพี
จากนั้นคลิกกขวาที่ Network Interface ที่เราใช้งาน แล้วเลือก Properties จะเข้าสู่หน้า Local Area Connection Properties ให้ท่านดับเบิ้ลคลิกที่ Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4) จะพบกับหน้าตั้งค่าไอพีดังรูป ในส่วนของแท็บ General ให้เลือกเป็น Obtain IP address automatically
รูปที่ 8 การรับไอพีจาก DHCP Server
หากตั้งค่าแล้วยังไม่ได้รับไอพีแอดเดรส ให้ผู้ใช้งานตรวจสอบ DHCP Client Service ว่าเปิดทำงานอยู่หรือไม่ โดยตรวจสอบได้ที่ Service ของ Windows ด้วยการพิมพ์คำสั่ง services.msc ที่ช่อง Search ของ Windows จะปรากฏหน้าต่าง Services แล้วให้เราตรวจสอบที่ DHCP Client Service มาสถานะเป็น Started หรือไม่ ดังรูปที่ 9
รูปที่ 9 ตรวจสอบ DHCP Client
หน้าที่ของ OSI Model แต่ละ Layer
OSI Model เป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงถึงวิธีการในการส่งข้อมูลจาก Computer เครื่องหนึ่งผ่านNetwork ไปยัง Computer อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานกลางแล้ว การพัฒนาและใช้งานที่เกี่ยวกับ Network ทั้ง Hardware และ Software ของผู้ผลิตที่เป็นคนละยี่ห้อ อาจเกิดปัญหาเนื่องจากการไม่ compatible กัน
OSI เป็น model ในระดับแนวคิด ประกอบด้วย Layer ต่างๆ 7 ชั้น แต่ละ Layer จะอธิบายถึงหน้าที่การทำงานกับข้อมูล
OSI Model พัฒนาโดย International Organization for Standardization (ISO) ในปี 1984 และเป็นสถาปัตยกรรมโมเดลหลักที่ใช้อ้างอิง ในการสื่อสาระหว่าง Computer โดยข้อดีของ OSI Model คือแต่ละ Layer จะมีการทำงานที่เป็นอิสระจากกัน ดังนั้นจึงสามารถออกแบบ อุปกรณ์ของแต่ละ Layer แยกจากกันได้ และการปรับปรุงใน Layer หนึ่งจะไม่มีผลกระทบกับ Layer อื่นๆ
7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ upper layers และ lower layers Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware
OSI Model ประกอบด้วย 7 Layer คือ
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งจาก Application บน Computer เครื่องหนึ่ง ไปยัง Application บน Computer จะต้องส่งผ่านแต่ละ Layer ของ OSI Model ตามลำดับ ดังรูป
โดย Layer แต่ละ Layer จะสามารถสื่อสารได้กับ Layer ข้างเคียงในขั้นสูงกว่าและต่ำกว่า และ Layer เดียวกันในอีกระบบ Computer เท่านั้น
Data ที่จะส่งจะถูกเพิ่ม header ของแต่ละชั้นเข้าไป เมื่อมีการรับข้อมูลที่ปลายทางแล้ว header จะถูกถอดออกตามลำดับชั้น
ตัวอย่าง ในการส่ง Mail จะถูกประกบ header เข้าไป 3 ชั้นเรียงจากบนลงมาคือ ชั้น Transport จะใส่เบอร์ Port ของ Mail คือ Port 25 ชั้น Network จะถูกใส่ต้นทางและปลายทางโดย Router ชั้น Datalink จะใส่เป็น Mac Address โดย Switch
โดยแต่ละ Layer ของ OSI Model จะมีหน้าที่ต่างกันดังนี้
Physical Layer ชั้น Physical เป็นการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector), ระดับความตางศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP)
Datalink Layer ชั้น Datalink เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (SubLayer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝัง มาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูก ใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link นี้
Network Layer ในขณะที่ชั้น Data-Link ให้ความสนใจกับแอดเดรสทางกายภาพ แต่การทำงานในชั้น Network จะให้ความสนใจกับแอดเดรสทางตรรกะ การทำงานในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมต่อและการเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลระหวางเครื่องสองเครื่องในเครือข่ายชั้น Network ยังให้บริการ เชื่อมต่อในแบบ "Connection Oriented" อย่างเช่น X.25 หรือบริการแบบ "Connectionless" เช่น Internet Protocol ซึ่งใช้งานโดยชั้น Transport ตัวอย่างของบริการหลักที่ชั้น Network มีให้คือ การเลือกส้นทางนำพาข้อมูลไปยังปลายทางที่เรียกว่า Routing ตัวอย่างของ โปรโตคอลในชั้นนี้ประกอบด้วย Internet Protocol (IP) และ Internet Control Message Protocol (ICMP)
Transport Layer ในชั้นนี้มีบางโปรดตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริากรด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอล ที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความ มั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้น Transport นี้"Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการ ใช้งานกันมากที่สุด"
Session Layer ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ, การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) นั้หมายถึงการเชื่อมต่อกัน ในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไป อย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยว กับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่างสมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการ รับ/ส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมี การกดหมายเลขปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียงดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมือ่มีการทัก ทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Sussion นี้มีระบบการติดตาม ด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซีงเรียกว่า "Dialog Management"Simple MailTransport Protocol (SMTP), File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session, Presentation และ Application
Presentation Layer ชั้น Presentation ให้บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์ (Syntax) ที่จะใช้ในการรับ/ส่งข้อมูล เนื่องจากว่าไม่มีการรับรองถึง ไวยากรณ์ที่จะใช้ร่วมกัน การทำงานในชั้นนี้จึงมีบริการในการแปลข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอด้วย
Application Layer ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำ E-mail Exchange (การรับ/ส่งอีเมล์), การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ
จากรูปเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง OSI Model กับการสื่อสารของ Internet โดยจะแสดงรูปแบบข้อมูล, data และอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในแต่ละ Layer
เป็นอย่างไรมั่งครับ OSI Model ถือเป็นพื้นฐานของ Network เลยทีเดียว ซึ่งหากเราเข้าใจหลักการทำงานของมันแล้ว เราจะสามารถออกแบบและวิเคราะห์ Network ต่างๆ ได้ง่ายขึ้นครับ
แถมความรู้อีกนิดละกันเกี่ยวกับหน่วยของข้อมูลต่างๆ ที่เราเคยได้ยินว่าแต่ละแบบคืออะไร
ข้อมูลที่ส่งในระบบเครือข่ายมีหลายรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละ Application หรือแต่ละผู้ผลิต แต่รูปแบบทั่วไปที่เรียกข้อมูลได้แก่
Frame | หน่วยของข้อมูลในระดับ Datalink Layer |
Packet | หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer |
Datagram | หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectional Less |
Segment | หน่วยของข้อมูลในระดับ Transport Layer |
Message | ระดับข้อมูลในเหนือ Network Layer มักจะหมายถึงระดับ Application Layer |
Cell | หน่วยข้อมูลที่มีขนาดแน่นอนในระดับ Datalink Layer ใช้เป็นหน่วยในลักษณะการส่งข้อมูลแบบสวิตซ์ เช่น Asynchronous Transfer Mode (ATM) หรือ Switched Multimegabit Data Service (SMDS) |
Data unit | หน่วยข้อมูลทั่วไป |
|